วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

หมายเลข IP Address คือ


หมายเลข IP Address คือ?
IP Address  คือหมายเลขประจ าเครื่องที่ต้องก าหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและ อุปกรณ์ทุกชิ้น
ในเครือข่ายเน็ตเวิร์ค โดยมีข้อแม้ว่าหมายเลข IP Address ที่จะก าหนดให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ต่างๆ
จะต้องไม่ซ้ าซ้อนกัน ซึ่งเมื่อก าหนดหมายเลข  IP Address  ได้อย่างถูกต้องจะช่วยให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและ
อุปกรณ์ต่างๆในเครือข่าย รู้จักกันรวมถึงสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้อย่างถูกต้อง โดย IP Address จะเป็น
ตัวอ้างอิงชื่อที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ตัวอย่างเช่น หากคอมพิวเตอร์  A  ต้องการส่งไฟล์ข้อมูลไปให้
คอมพิวเตอร์  B  คอมพิวเตอร์  A  จะต้องรู้จักหรือมองเห็นคอมพิวเตอร์  B  เสียก่อน โดยการอ้างอิงหมายเลข  IP
Address ของคอมพิวเตอร์ B ให้ถูกต้อง จากนั้นจึงอาศัยโปรโตคอลเป็นตัวรับส่งข้อมูลระหว่างทั้ง 2 เครื่อง
IP Address  จะประกอบไปด้วยตัวเลขจ านวน  4  ชุด ระหว่างตัวเลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด  “.”  เช่น
10.106.59. โดยคอมพิวเตอร์จะแปลงค่าตัวเลขทั้ง  4  ชุดให้กลายเป็นเลขฐาน  2  ก่อนจะน าค่าที่แปลงได้ไปเก็บลง
เครื่องทุกครั้ง และนอกจากนี้หมายเลข IP Address ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครือข่าย (Network Address)
2.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครื่อง (Host Address)
ซึ่งหมายเลขทั้ง 2 ส่วนนี้สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ 5 Class ด้วยกันได้แก่ Class A, B, C, D
และ E ส าหรับ Class D และ E ทางหน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center: หน่วยงานที่
ได้รับการจัดตั้งจากรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งท าหน้าที่เกี่ยวกับการออกมาตรฐานและจัดสรรหมายเลข  IP Address  ให้กับ
คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั่วโลก) ได้มีการประกาศห้ามใช้งาน
Class A หมายเลข  IP Address  จะอยู่ในช่วง  0.0.0.0  ถึง 127.255.255.255  มีไว้ส าหรับจัดสรรให้กับ
องค์กรขนาดใหญ่ที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อภายในเครือ ข่ายจ านวนมากๆ
Class B หมายเลข  IP Address จะอยู่ในช่วง 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 มีไว้ส าหรับจัดสรรให้กับ
องค์กรขนาดกลาง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้มากถึง 65,534 เครื่อง
Class  C หมายเลข  IP Address จะอยู่ในช่วง 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 มีไว้ส าหรับจัดสรรให้กับ
องค์กรขนาดเล็กและใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในเครือ ข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ใน
เครือข่ายได้ 254 เครื่อง
Class D หมายเลข  IP Address  จะอยู่ในช่วง  224.0.0.0  ถึง  239.255.255.255  ส าหรับหมายเลข  IP
Address ของ Class นี้มีไว้เพื่อใช้ในเครือข่ายแบบ Multicast เท่านั้น
Class E หมายเลข  IP Address  จะอยู่ในช่วง  240.0.0.0  ถึง  254.255.255.255  ส าหรับหมายเลข  IP
Address ของ Class นี้จะเก็บส ารองไว้ใช้ในอนาคต ปัจจุบันจึงยังไม่ได้มีการน ามาใช้งาน
Public IP และ Private IP แตกต่างกัน?
บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเราจะได้รับการจัดสรร  IP Address  จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  (ISP: Internet
Service Providers)  ที่ใช้อยู่ ซึ่งเป็น  IP Address ของจริงหรือที่เรียกว่า “Public IP” แต่ส าหรับการต่อเครือข่าย
เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือออฟฟิศต่างๆ เราจะใช้ IP Address ของปลอม หรือที่เรียกว่า “Private IP” ซึ่ง Class ที่
นิยมใช้กันก็คือ  Class C  ที่อยู่ในช่วง  192.168.0.0  ถึง 192.168.255.0  โดยผู้ใช้หรือผู้ดูแลระบบจะสามารถเป็นผู้
ก าหนดหมายเลข IP Address แบบ Private IP ด้วยตนเองได้Public IP
Private IPIPConfig ค าสั่งส าหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ภายในเครื่อง
ค าสั่ง IPConfig เป็นค าสั่งที่ใช้ส าหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่ ซึ่งถ้าหากท่าน
ไม่ทราบว่าหมายเลข  IP Address  ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่นั้นเป็นหมายเลขอะไรหรือมีรายละเอียดอะไรที่
เกี่ยวข้องกับหมายเลข  IP Address  บ้าง ก็สามารถใช้ค าสั่งนี้เรียกดูผ่านหน้าต่าง  Command Prompt  ได้เลยครับ
โดยเข้าไปที่
1.ถ้าหากต้องการดูหมายเลข IP Address ซึ่งบอกรายละเอียดทั้งหมดก็สามารถดูได้โดยคลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์
cmd วรรค /k วรรค ipconfig วรรค /all
จะได้ผลลัพธ์ออกมาดังรูป
และนอกจากนี้ยังมีตัวเลือกเพิ่มเติมที่นิยมใช้ร่วมกับค าสั่ง IPConfig ได้แก่
ipconfig [/? | /all | /renew [adapter] | /release [adapter] | /flushdns | /displaydns | /registerdns |
/showclassid adapter | /setclassid adapter [classid] ]
Options:
/? แสดง help ของค าสั่งนี้
/all แสดงรายละเอียดทั้งหมด
/release ยกเลิกหมายเลข IP ปัจจุบัน/renew ขอหมายเลข IP ใหม่ ในกรณีที่เน็ตเวิร์คมีปัญหา เราอาจจะลองตรวจสอบได้โดยการใช้ค าสั่งนี้ ซึ่งหากค าสั่ง
นี้ท างานได้ส าเร็จ แสดงว่าปัญหาไม่ได้มาจากระบบเครือข่าย แต่อาจจะเกิดจากซอฟท์แวร์ของเรา
/flushdns ขจัด DNS Resolver ออกจาก cache.
/registerdns ท าการ Refreshes DHCP ทั้งหมด และ registers DNS names ใหม่
/displaydns แสดง DNS Resolver ทั้งหมดที่มีในอยู่ Cache.
/showclassid แสดง class IDs ทั้งหมดที่ DHCP ยอมให้กับการ์ดแลนใบนี้
/setclassid แก้ไข dhcp class id.
การใช้ค าสั่ง Ping ตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่าย
ค าสั่ง Ping เป็นค าสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบการเชื่อมต่อกับเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ใน
เครือข่าย โดยค าสั่ง  Ping  จะส่งข้อมูลที่เป็นแพ็คเกจ  4  ชุดๆละ  32 Byte  ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการ
ตรวจสอบ หากมีการตอบรับกลับมาจากคอมพิวเตอร์เป้าหมายก็แสดงว่าการเชื่อมต่อเครือข่าย ยังเป็นปกติแต่หากไม่
มีการตอบรับกลับมาก็แสดงว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางหรือเครือข่ายอยู่ใน ช่วงหนาแน่น ดังนั้นจะเห็นว่าค าสั่ง Ping มี
ประโยชน์อย่างมากในการตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อเครือข่ายเบื้องต้นได้เป็น อย่างดี
ขั้นตอนการเรียกใช้งานมีดังนี้
1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd เพื่อเรียกใช้งาน Command Prompt ดังรูป
2.เมื่อปรากฏหน้าต่าง Command Prompt ให้พิมพ์ค าสั่ง ping ตามด้วยหมายเลข IP Address ของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่ต้องการเข้าไปตรวจสอบลงไป จากนั้นกดปุ่ม Enter3.หากมีการตอบรับกลับมาจากคอมพิวเตอร์ปลายทาง จะปรากฏค าสั่งเหมือนในกรอบสีแดง แสดงว่าคอมพิวเตอร์ทั้ง
2 เครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตามปกติ
4.แต่ถ้าปรากฏค าสั่ง “Request timed out” นั่นแสดงว่าคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เกิดปัญหาขัดข้องไม่สามารถ
ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ซึ่งจะต้องท าการตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายรวมถึงการตั้งค่าต่างๆให้ถูก ต้อง แล้วลองใช้
ค าสั่ง Ping ตรวจสอบอีกครั้งครับ
ตัวเลือกเพิ่มเติมที่นิยมใช้ร่วมกันกับค าสั่ง Ping
Usage: ping [-t] [-a] [-n count] [-l size] [-f] [-i TTL] [-v TOS] [-r count] [-s count] [[-j host-list] | [-k hostlist] | [-w timeout] target_name
Options:
-t Ping ไปยัง Host ตามที่ระบุเรื่อยๆ จนกว่าจะสั่งยกเลิกโดยกดแป้น Ctrl-C.และหากต้องการดูสถิติให้กดแป้น CtrlBreak
-a เปลี่ยนหมายเลข IP Address ของ Host เป็นชื่อแบบตัวอักษร
-n count Ping แบบระบุจ านวน echo ที่จะส่ง
-l size ก าหนดขนาด buffer
-f ตั้งค่าไม่ให้แยก flag ใน packet.
-i TTL Ping แบบก าหนด Time To Live โดยก าหนดค่าตั้งแต่ 1-255
-v TOS ก าหนดประเภทของบริการ (Type of service)
-r count Ping แบบให้มีการบันทึกเส้นทางและนับจ านวนครั้งในการ hops จนกว่าจะถึงปลายทาง
-s count Ping แบบนับเวลาในการ hop แต่ละครั้ง
-j host-list Loose source route along host-list.
-k host-list Strict source route along host-list.
-w timeout Ping แบบก าหนดเวลารอคอยการตอบรับวิธีสังเกต ว่า IP Address นี้อยู่ Class  อะไร
• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 1-126 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class A
(IP address 127 นั่น จะเป็น Loopback Address ของ Class นี้น่ะครับหรือ ของคอมท่านเอง )
• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 128-191  แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class B
• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 192-223 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class C
• ส่วน 224 ขึ้นไปจะเป็น Multicast  Address ที่กล่าวไว้ข้างต้น
Subnet mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ subnet
คือ ตัวที่แบ่ง IP address ที่ได้มาให้เป็นกลุ่มย่อย ช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น
Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address
ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจ าเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง
Default Subnet mask ของแต่ล่ะ Class ดั้งนี้
• Class A จะมี Subnet mask เป็น 255.0.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.00000000.00000000.00000000
(รวม เลข 1 ให้หมด ก็จะได้เท่ากับ 255)
• Class B จะมี Subnet mask เป็น 255.255.0.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.11111111.00000000.00000000
• Class C จะมี Subnet mask เป็น 255.255.255.0 หรือเลขฐานสองดัง้นี้
11111111.11111111.11111111.00000000
"ต าแหน่ง ของ Bit ไหน ในหมายเลข IP Address ที่ถูกกันไว้ให้เป็น Network Address หรือ Subnet Address จะ
มีค่าของ Bit ต าแหน่งที่ตรงกันใน Subnet mask เป็น 1 เสมอ"
หลักการพื้นฐานของการท า Subnet
หลักการ ท างานมีอยู่ว่า เราจะต้องยืม bitในต าแหน่งที่แต่เดิมเคยเป็น Host Address มาใช้เป็น Sub-network
Address ด้วยการแก้ไขค่า Subnet mask ให้เป็นค่าใหม่ที่เหมาะสม
สูตรการค านวณ  2 ยกก าลัง n  - 2 = ?? ู
การวางแผน ค านวณ Subnet
1. หาจ านวน Segment ทั้งหมดที่ต้องการ Subnet address  จ านวนใน Segment ในที่นี้ นับจ านวน network
ที่อยุ่ในแต่ล่ะฝั่งอขง Router หรือของ switch Layer 3 หรือ หากมีการ implement VLAN จะนับจ านวนของ
VLANก็ได้
2. จ านวนเครื่อง computer ทั้งหมดในแต่ล่ะ Segment (ในที่นี้เราสมมุติ ว่าจ านวนเครื์์อง มีจ านวนใกล้เคียงกัน)
3. หาจ านวน bit ที่จะต้องยืมมาใช้เป็น Subnet Address โดยพิจารณาจาก ข้อ.1  และ ข้อ.2 โดยอาศัยสูตรง่าย ๆ
ถ้ายืมมาจ านวน x bit แล้ว ถ้าน าเอา 2 มายกก าลังด้วย x แล้ว หักลบออกอีก 2 แล้วได้ค่ามากกว่า หรือ เท่ากับ
จ านวน Subnet address ที่เราต้องการ
ขั้นต่อมา  ก้ต้องน า bit ที่เหลือจากการยืมมา เข้าสูตรเดิมคือ  2 ยกก าลัง n -2 = ??
4. น า subnet mask ที่ได้มาค านวณร่วมกับหมายเลข Network Address เดิมเพื่อหา Subnet Address ทั้งหมดที่
เป็นไปได้ เพื่อที่จะน าไปก าหนดให้กับ Network แต่ล่ะ Segment5. ค านวณหมายเลข IP Address ที่เป็นไปได้ทั้งหมดในแต่ล่ะ Subnet แล้วน าไป ก าหนดให้กับเครื่อง computer
เครื่อง server  และแต่ล่ะ interface ของ router จนครบ
คือถ้าสมมุติเราได้ IP ที่มีชุดหมายเลข Network เป็น 20.0.0.0 ซึ่งทางเทคนิคจะเห็นว่าเป็นหมายเลข IP Class A
ที่ เป็น Private IP Address สามารถก าหนดให้เครื่อง ได้ตั้งแต่หมายเลข 20.0.0.1 - 20.255.255.254 โดยมี
หมายเลข Network เป็น 20.0.0.0 และหมายเลข Broadcast เป็น
20.255.255.255 แล้วถ้าเราน ามาใช้จริงก็จะเห็นว่ามันจะเห็นกันทั้งหมดเพราะว่า มันอยู่ใน network เดียวกัน
เพราะฉะนั้นเวลาเราจะท า subnet เราก็แบ่งไปตามที่เราต้องการเช่น
เราอยากให้ byte ที่ 2 เป็นแผนก byte ที่ 3 เป็นหน่วยในแผนกประโยชน์ของ subnet ก็คือเผื่อท าให้การบริหาร
จัดการมีประสิทธิภาพและเพื่อประโยชน์
ในด้าน ระบบความปลอดภัยของข้อมูล
NAT เป็นการแก้ปัญหาจากการที่อินเตอร์เนตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ท าให้ IP ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดย NAT
สามารถแปลง IP หลายๆ ตัวที่ใช้ภายในเครือข่ายให้ติดต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้ IP เดียวกัน ซึ่งวิธีการท างานก็คือ
เมื่อมีการเริ่มท างาน มันจะสร้างตารางไว้เก็บข้อมูล IP address ของเครื่องในเครือข่ายภายในที่ส่ง packet ผ่าน NAT
device และจากนั้นมันก็จะสร้างตารางไว้เก็บข้อมูลหมายเลขพอร์ต ที่ถูกใช้ไปโดย outside IP address เมื่อมีการส่ง
packet จากเครือข่ายภายในไปยังเครือข่ายภายนอก NAT device จะมีกระบวนการท างานคือ
1. มันจะบันทึกข้อมูล source IP adress และ source port number ไว้ในตารางที่เกี่ยวข้อง
2. มันจะแทนที่ IP ของ packet ด้วย IP ขาออกของ NAT device เอง (ในที่นี้คือ 203.154.207.76)
3. มันจะ assign หมายเลขพอร์ตใหม่ให้กับ packet และบันทึกค่าพอร์ตนี้ไว้ในตาราง และก าหนดค่านี้ลงไปใน
source port number ของ packet นั้น
4. จากนั้นจะค านวณหา IP, TCP checksum อีกครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
และ เมื่อ NAT device ได้รับ packet ย้อนกลับมาจาก external network มันจะตรวจสอบ destination port
number ของ packet นั้นๆ แล้วน ามาเปรียบเทียบกับข้อมูล source port number ในตารางที่บรรจุข้อมูลไว้ถ้า
เจอข้อมูลที่ตรงกันมันก็จะเขียนทับ destination port number, destination IP address ของ pakcet นั้นๆ แล้ว
จึงส่ง packet นั้นไปยังเครื่องอยู่ภายในเครือข่ายภายในที่เป็นผู้สร้าง packet นี้ขึ้นมาในครั้งแรก
prefer คือ DNS ตัวแรกคับจะใช้ในการ resolve เป็นอันดับแรก ถ้าใช้งานได้ก็จะใช้อันนี้ประจ า หากใช้งานไม่ได้ก็จะ
ใช้ตัวที่สอง
ที่เรียกว่า alternate dns หละคับ
DNS Server
Domain Name Service Server
ยกตัวอย่าง
เวลาเราจะเข้าเว็ปไซต์www.google.co.th เราก็จะจ าง่ายเราจ าแต่ค าว่า google.co.th แต่การท างาน
คอมพิวเตอร์นั้นมันไม่ได้ติดต่อกันด้วย google.co.th แต่มันติดต่อกันด้วย IP Address
ดังนั้น DNS Server จึงท าหน้าที่แปลงจากชื่อ google.co.th เป็น IP ที่มันค้นหาจากฐานข้อมูล (ฐานข้อมูลจะมีการ
เชื่อมต่อกันทั่วโลก)
อย่างเช่น www.google.co.th แปลงเป็นไอพีได้ 10.11.1.20 ท านองนี้น่ะครับ ถ้าเราจ าได้ว่า IP address ของเว็ป
ไซต์คืออะไรDNS Server ก็ไม่มีความจ าเป็น เราก็พิมพ์ไปได้เลย เช่น www.10.11.120 น่ะครับ
Primary DNS หรือ Preferred DNS ก็คือชื่อ Domain Name Service ตัวหลักที่เราจะขอใช้บริการ (จ าเป็นต้องมี
เพราะเราจ าชื่อ IP ของเว็ปต่างๆ ไม่ได้)
Secondary DNS หรือ Alternat DNS ก็คือชื่อDomain Name Service ตัวส ารอง (เหมือนทางเบี่ยงเวลาสะพาน
ขาด หรือช ารุด) ไม่ต้องมีก็ได้ถ้ามั่นใจว่า DNS หลักไม่มีวันล่ม

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

ต่อเน็ตผ่าน EDGE ของ DTAC ด้วย Nokia 3110c บน Ubuntu Jaunty Jackalope

ข้อมูลสรุปนี้ไม่พร้อมใช้งาน โปรด คลิกที่นี่เพื่อดูโพสต์

เทคนิคเพิ่มความเร็ว GPRS และ EDGE

เทคนิคเพิ่มความเร็ว GPRS และ EDGE แบบฟรีๆ




มาอีกครั้งนะครับกับเทคนิคการเร่งความเร็วใน การเล่น Net ผ่าน GPRS/ EDGE  บนเครื่อง PDA Phone หรือ PDA ทั่วๆไป ซึ่งเหมาะสำหรับเครื่องที่ใช้ระบบปฎิบัติการทั้ง  Windows Mobile และ Windows ทั่วไป
สำหรับเทคนิคที่ใช้ก็คือ การเร่ง Speed DNS นั่นเอง ผมเชื่อว่าหลายคนคงต้องเคยได้ยินคำว่า DNS แน่ๆ แต่เราอาจจะยังไม่ทราบว่า DNS นั้นคืออะไร
DNS ย่อมาจาก Domain Name System เป็นการแปลงค่าตัวเลข IP ให้เป็น Domain name ซึ่งปกติเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเว็บไซด์ต่างๆจะใช้เลข IP เป็นการบอกค่า URL แต่หากเราใช้เลข เป็นสิบหลักกว่าจะจำได้หรือบอกกันก็คงลำบาก เค้าก็เลยใช้ตัวหนังสือมาบอกแทน เช่น เว็บไซด์  http://211.155.107.162  ก็คือ http://www.wikipedia.org/


ซึ่ง การใช้ DNS ส่วนมากของเราที่ใช้กันเมื่อ server รองรับไม่ค่อยไหวก็เลยทำให้ Net ที่ใช้มันช้าตามไปด้วย แต่ตอนนี้มีบริการ DNS ฟรีครับเพื่อเพิ่ม speed ความเร็วในการเข้าเว็บไซด์ต่างๆให้เร็วขึ้น โดยบริการฟรี DNS สำหรับการเชื่อมต่อ Intenet ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยปกติเวลาเข้าเว็บแล้วช้า ก็มาจากสองสาเหตุใหญ่ๆ คือ cache ไม่ใหญ่พอ กับ Network ไม่เร็ว ซึ่ง DNS ฟรีหลายๆที่บอกว่าทางเค้ามีทรัพยากรที่รองรับสิ่งเหล่านี้อย่างดีเยี่ยมเลย ทำให้เราสามารถเล่น Net ได้เร็วขึ้นหากใช้เลข DNS ของเค้า แบบนี้เราลองไปพิสูจน์กันดูเลยดีกว่าครับ ลองดูภาพเปรียบเทียบด้านล่างเพื่อความเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมใช้ DNS ของเค้าแล้วเราถึงจะเร็วตาม
ในตอนนี้มี DNS server ฟรีหลายๆเจ้าให้ลองเลือกใช้กันดู ลองดูตาม List ที่หามาให้ด้านล่างนี้ครับ
(1) ของ DNS Advantage
156.154.70.1
156.154.71.1
(2) ของ OpenDNS
208.67.222.222
208.67.220.220
(3) ของ ORSC Public Access DNS Nameservers
199.166.24.253
199.166.27.253
199.166.28.10
199.166.29.3
199.166.31.3
195.117.6.25
204.57.55.100
(4) ของ Cisco
128.107.241.185
192.135.250.69
(5) ของ Sprintlink General DNS
204.117.214.10
199.2.252.10
204.97.212.10

สำหรับวิธีการตั้งค่าเครื่อง Windows Mobile มีวิธีดังนี้ครับ

1. ไปที่ Start >> Settings
2. เลือกที่ Connections



3. เลือกที่ บรรทัด "Manage existing connections"



4. เมื่อเข้าสู่หน้าเชื่อมต่อจะเห็นชื่อของ ISP หรือผู้ให้บริการ แตะที่ปุ่ม Edit



5. จะเข้าสู่หน้าแก้ไขข้อมูล ดังในรูปครับ
6. แตะที่ next ทีมุมขวาล่างหน้าจอ จนเข้าสู่หน้าที่ให้กรอก user name และ password ซึ่งจะมีปุ่ม Advanced โชว์อยู่
7. แตะที่ปุ่ม Advanced



8. เลือกที่แถบเมนู ที่เขียนว่า Server ด้านล่าง



9. เลือกที่คำสั่งช่อง "Use specific server address"
10. กรอกข้อมูลช่อง DNS : 4.2.2.1 Alt DNS 4.2.2.2  ( หรือเลขอื่นๆตามใจชอบ )



11. เสร็จแล้วแตะที่ OK เข้าสู่หน้าจอก่อนหน้านี้ แล้วแตะที่ Finish เป็นอันเสร็จขบวนการ

มาทดสอบกันหน่อย















สำหรับการตั้งค่าบน PC สำหรับการดูเว็บบน PC ให้เร็วขึ้น
1.ไปที่ Control Panel จาก the Start menu.



2. เลือกที่ Network Connections



3. เลือก Network Connections window ที่เราใช้อยู่




4. เลือกที่ Properties



5. เลือกที่ Internet Protocol (TCP/IP)  แล้วเลือกที่ Properties



6. เลือกที่ Use the following DNS server addresses เพื่อกำหนดเอง แล้วใส่เลขที่ต้องการลงไป




ก็ เป็นเทคนิคง่ายๆที่เคยนำเสนอไปบ้างแล้ว  สำหรับการทำงานของ DNS หากใครลองใส่เลขบางอันแล้วไม่เร็วก็ลองเปลี่ยนได้ตามจากใน List ที่หามาให้นะครับ การดูเว็บในเมืองไทยอาจจะไม่ค่อยเห็นผลเท่าไร แต่ถ้าเป็นเว็บต่างประเทศก็รู้สึกว่าเร็วขึ้นนะครับ เร็วๆไม่เร็วแต่มันก็มีผลด้านจิตใจนิดหน่อย แต่ความรู้สึกส่วนตัวบางอันมันก็เร็วจริงๆนะครับ ไม่วั้นเค้าคงไม่เปิดเป็นบริการให้ใช้แน่ๆ

บางรายอย่าง DNS Advantageก็มีการพัฒนา Server ที่จะลองรับปรับแต่งจนเค้าคุยว่าของเค้าเร็วแน่  เร็วแค่ไหนก็ไปลองกันดูได้เลย เพราะเทคนิคนี้ฟรีครับ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ สามารถกลับมาใช้ค่าเดิมได้ตลอดเวลา สรุปแล้วงานนี้มีแต่ได้ครับ จะเสียก็ตรงเรื่องค่า GPRS อย่างเดียวเท่านั้น

ความรู้เบื้องต้นของการรับส่งข้อมูล

ความรู้เบื้องต้นของการรับส่งข้อมูล

--------------------------------------------------------------------------------


เท คโนโลยี่ในการสื่อสารข้อมูลต่างๆนั้นมีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการ สื่อสารที่เรียกว่า Non-Voice หรือการสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูล โดย None Voice Application ที่พัฒนาต่อเนื่องนี้ก็จะอำนวยความสะดวก ให้เราสามารถสื่อสารได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาหากดูตามลำดับแล้วก็จะมีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาเป็น ลำดับ ดังนี้

Short Message Service (SMS)
เป็นรูปแบบการสื่อสารด้วยข้อมูลที่เป็นพื้นฐานมากที่สุด นั้นคือการส่งข้อความตัวอักษร ที่นิยมใช้งานกันทั่วไป

Circuit Switched Data (CSD)
เป็น การรับส่งข้อมูลที่ใช้ WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่จะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับ Wap Site ต่างๆ ได้ แต่จะมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่งที่สามารถทำได้เพียง 9.6 - 28.8 kbps เท่านั้น

General Packet Radio Service (GPRS)
เป็น การแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงความสามารถในการโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถ สูงขึ้น ได้ถึง 9 - 40 kbps ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นนี้จึงสามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น เช่นการรับส่งข้อความที่เป็นเสียง หรือ วิดีโอ อย่างเช่น MMS (Multimedia Message System) ได้ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อ
กับเครือข่ายอินเตอร์ เน็ตได้ดีขึ้นกว่าเดิม สามารถ Download/Upload ได้เร็วมากยิ่งขึ้น และด้วยคุณสมบัติที่เรียกว่า Always On ที่การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไปได้พร้อมกัน แม้ว่าในขณะที่มีสายเรียกเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง ด้วยเทคโนโลยีนี้จึงเป็นผลพวงให้อุปกรณ์พกพาต่างๆได้รับประโยชน์เป็นอย่าง มากโดยทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถเชื่อมต่อและใช้งาน Internet ได้

Enhanced Data Rates for Global Evolution (EDGE)
EDGE คือเทคโนโลยีในการรับ - ส่งข้อมูลด้วยเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงถึง 236 Kbps ซึ่งสูงกว่าการส่งด้วยเครือข่าย GPRS ถึง 4 เท่า นับเป็นก้าวแรกสู่เทคโนโลยี 3G ช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากข้อมูล (Applications/Contents) บนโทรศัพท์มือถือได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า ทั้งการเข้า WAP และ WEB รับส่ง MMS, Video/Audio Streaming และ Interactive Gaming ได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด

--------------------------------------------------------------------------------

การเชื่อมต่อกับเครือข่าย GPRS ด้วยเครื่องโทรศัพท์ หรือ เครื่อง PocketPC Phone

--------------------------------------------------------------------------------

การใช้งานที่ง่ายที่สุดคือการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ หรือ PocketPC Phone ที่มีความสามารถเชื่อมต่อ GPRS ได้ (ซึ่งส่วนใหญ่สามารถใช้ได้) แต่ก่อนที่เราจะสามารถใช้งานในระบบ GPRS ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการตั้งค่าจุดเชื่อมต่อก่อนซึ่งการตั้งค่าจุดเชื่อมต่อนี้ เปรียบเสมือนการสร้างประตูในการเปิดเข้าสู่โลกของ Internet หากตั้งค่าไม่ถูกต้องก็จะไม่สามารถเชื่อมต่อได้เลย เรามาดูวิธีการตั้งค่าของอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบันนี้กัน นั่นคือ Symbian Phone และ Pocket PC Phone

ตัวอย่างการตั้งค่าในโทรศัพท์แบบ Symbian

    Image
  1. ให้กดปุ่มเมนู แล้วเลือกที่ Folder Tools

    Image
  2. เลือกที่ Settings

    Image
  3. เลือกที่ Connection

    Image
  4. เลือกที่ Access points

    Image
  5. ทำการสร้าง Access point ใหม่ โดยการกดที่ Option ' New access point ' Use default settings

    Image Image
  6. ทำการป้อนข้อมูลดังนี้
    1. Connection name : ป้อนชื่อ Connection Name
    2. Data bearer : เลือก Packet Data
    3. Access point name : www.dtac.co.th
    4. Username : ไม่ต้องใส่
    5. Prompt password : No
    6. Password : ไม่ต้องใส่
    7. Authentication : Normal
    8. Homepage : เป็นเวบตั้งต้นเมื่อเราเปิด Browser จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้

    Image
  7. จะได้ Access point สำหรับต่อเชื่อเข้า Internet แล้ว

ตัวอย่างการตั้งค่าในเครื่อง PocketPC Phone Edition

    Image
  1. จากหน้าจอ Today ให้แตะที่ Start --> Settings --> เลือกที่ Connections Tab ด้านล่าง --> เลือกที่ Icon Connections

    Image
  2. เลือกที่ Advanced Tab ด้านล่าง แล้วเลือก Select Networks

    Image
  3. กดเลือกที่ New เพื่อทำการสร้าง Connection ใหม่

    Image
  4. ที่ Tab General : ในช่อง Enter a name for these settings ให้ใส่คำว่า DTAC GPRS Settings

    Image
  5. ที่ Tab Modem : กดเลือก New เพื่อกำหนดการเชื่อมต่อ

    Image
  6. ในช่อง Enter a name for the connection ให้ใส่ชื่อ DTAC GPRS และเลือก Modem เป็น Cellular Line (GPRS) หลังจากนั้นกด Next

    Image
  7. ในส่วนของ Access Point Name ให้ใส่ค่า www.dtac.co.th แล้วกด Next

    Image
  8. ถัดมา Username, Password และ Domain ไม่ต้องใส่ข้อมูล แล้วกดเลือกที่ปุ่ม Advanced

    Image
  9. เลือกที่ Use server assigned-IP address

    Image
  10. เลือก Tab Servers ด้านล่าง แล้วเลือกไปที่ Use specific server address แล้วใส่ค่า DNS : 203.155. 33. 1 และ Alt DNS : 202.44.144.33 หรือจะใช้ Use server-assigned address ก็ได้ แล้วกด OK

    Image
  11. ก็จะได้ DTAC GPRS สำหรับเชื่อมต่อ Internet แล้ว

    Image
  12. ในส่วนของ Tab Proxy Settings ไม่ต้องกำหนดอะไรเพิ่มเติมหลังจากนั้นจะกลับมาที่หน้าเดิม

    Image
  13. เป็นอันเสร็จสิ้นการกำหนดการเชื่อมต่อ โดยจะมี DTAC GPRS Settings ปรากฏให้เห็น ให้ทำการเลือก DTAC GPRS Settings แล้วกด OK

    Image
  14. จะได้การเชื่อมต่อหลักคือ DTAC GPRS Settings

    Image
  15. สามารถทำการเชื่อมต่อได้โดยการเปิด Internet Browser หรือ แตะค้างที่ DTAC GPRS ก็จะมีเมนู Connect ให้

    Image

    Image

--------------------------------------------------------------------------------

การเชื่อมต่อจากเครื่อง Computer
โดยใช้เครื่องโทรศัพท์ หรือ PocketPC เป็น Bluetooth Modem

--------------------------------------------------------------------------------


หลัง จากที่เราสามารถทำการเชื่อมต่อโทรศัพท์ หรือ PocketPC Phone ให้สามารถใช้งาน GPRS ได้แล้ว เราก็ยังสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องโทรศัพท์ หรือ PocketPC Phone ให้เป็นเสมือน Modem แบบไร้สายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น Notebook หรือ Desktop Computer โดย Computer ที่จะสามารถใช้ได้นั้นจะต้องมี Bluetooth ด้วย ซึ่งการเชื่อมต่อนั้นจะกระทำการเชื่อมต่อผ่านสัญญาณ Bluetooth นั่นเอง ในส่วนนี้จะใช้เครื่อง Computer ที่มี Bluetooth ที่ใช้ Driver ของ Billionton ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายเป็นตัวอย่าง

    Image
  1. ทำการตั้งค่าเบื้องต้นก่อนการใช้งาน โดย Click ขวาที่ Icon Bluetooth ใน System Tray แล้วเลือกที่เมนู Bluetooth Setup Wizard

    Image
  2. เลือกที่ Option “I want to find a specific Bluetooth device and configure how this computer will use this services”

    Image
  3. ทำการเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการใช้เป็น Bluetooth Modem

    Image
  4. ทำการเลือก Dial-up Networking แล้วกด Finish เป็นอันเสร็จสิ้นการตั้งค่าเบื้องต้น

เริ่มทำการเชื่อมต่อ

    Image
  1. ทำ การเชื่อมต่อ โดย Click ขวาที่ Icon Bluetooth ใน System Tray แล้วเลือกที่เมนู  Quick Connect  Dial-up Networking แล้วเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการใช้เป็น Modem

    Image
  2. ทำการป้อนข้อมูลสำหรับเชื่อมต่อ โดย Username และ Password ไม่ต้องใส่ และให้ใส่หมายเลขสำหรับหมุนเป็น *99# แล้วทำการกดปุ่ม Dial

    Image Image
  3. เชื่อมต่อได้แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------

การเชื่อมต่อจากเครื่อง PocketPC แบบธรรมดา โดยใช้เครื่องโทรศัพท์ เป็น Bluetooth Modem

--------------------------------------------------------------------------------


ใน กรณีที่เราต้องการใช้งาน Internet แบบไร้สายแต่ไม่มีเครื่อง Computer อยู่ มีแต่เพียงเครื่อง PocketPC เราก็ยังสามารถนำเอาเครื่อง PocketPC มาเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ เพื่อใช้งาน Internet ได้อีกด้วย ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นก็มีเพียง เครื่อง PocketPC ที่มี Bluetooth และเครื่องโทรศัพท์ที่สามารถใช้งานในลักษณะ Bluetooth Modem ได้ ในที่นี้จะใช้ PocketPC ร่วมกับโทรศัพท์ Nokia N73

ก่อนที่เราจะทำ การเชื่อมต่อได้นั้นจะต้องทำการจับคู่อุปกรณ์เพื่อให้สามารถใช้งาน Bluetooth Dialup Networking ได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

    Image
  1. กด Start --> Setting --> เลือกที่ Tab Connections แล้วเลือกที่ Icon Bluetooth

    Image
  2. ทำการจับคู่อุปกรณ์โดยเลือกที่ New Partnership หรือหากมีรายชื่อนั้นอยู่แล้วก็สามารถแตะเลือกได้เลย

    Image
  3. ทำการค้นหาอุปกรณ์ และทำการเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน

    Image
  4. กำหนด Passkey ในการเชื่อมต่อ

    Image
  5. เมื่อเชื่อมต่อได้แล้วให้ทำการกาเลือก Dialup Networking

    Image
  6. ทำการจับคู่อุปกรณ์และพร้อมใช้งานแล้ว

ทำการสร้างการเชื่อมต่อเพื่อเชื่อมกับ Modem

    Image
  1. แตะเลือกที่ Icon Connections

    Image
  2. ที่ Tab Advanced ให้แตะเลือกที่ Select Networks

    Image
  3. แตะเลือกที่ New เพื่อสร้าง Connection

    Image
  4. ที่ Tab General ให้ตั้งชื่อ Connection

    Image
  5. ที่ Tab Modem ให้แตะเลือกที่ New เพื่อสร้างการเชื่อมต่อ

    Image
  6. ตั้งชื่อการเชื่อมต่อและเลือกลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth

    Image
  7. เลือกโทรศัพท์ที่ต้องการให้เป็น Modem

    Image
  8. ใส่หมายเลขโทรศัพท์สำหรับเชื่อมต่อเป็น *99#

    Image
  9. Username, Password และ Domain ไม่ต้องใส่ข้อมูล แล้ว แตะที่ Finish

    Image
  10. Connection ที่สร้างขึ้นมาใหม่

    Image
  11. ใน Tab Proxy ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงค่า

    Image
  12. Bluetooth Dial ที่สร้างเสร็จแล้ว

    Image
  13. ให้แตะเลือกที่ Shortcut "Manage existing connections"

    Image
  14. แตะค้างที่ Connection แล้วทำการเชื่อมต่อโดยแตะเลือกที่ Connect

    Image
  15. ในหน้าจอนี้ Username, Password และ Domain ไม่ต้องใส่

    Image
  16. ทำการหมุน Modem เพื่อทำการเชื่อมต่อ

    Image
  17. เชื่อมต่อได้แล้ว

    Image
  18. สามารถใช้งาน Internet ได้


ในการใช้งานระบบ GPRS ในรูปแบบนี้นั้นความเร็วในการเชื่อต่อจะอยู่ระหว่าง 9 - 40 kbps และสูงถึง 236 Kbps หากบริเวณนั้นสามารถใช้ Edge ได้ ในการใช้งานนี้เราสามารถใช้งานได้ทั้ง Browse Web Page โดยใช้ Browse อย่าง Internet Explorer ใน Computer หรือ Pocket Internet Explorer ในเครื่อง PocketPC ก็ได้ หรือจะใช้โปรแกรม Mail Client ต่างๆ เพื่อทำการรับ-ส่งเมล์ได้ หรือแม้แต่การใช้งานโปรแกรม Chat ต่างๆ เรียกได้ว่าทำได้ทุกอย่างที่ Dial Line หรือ ADSL สามารถทำได้เช่นกัน


Top